Hair World Plus

สาเหตุของผมร่วง น่าห่วงกว่าที่คิด

ทำไมผมคนเราถึงร่วง ? โดยทั่วไปคนเราทุกคนมักจะมีการหลุดร่วงของเส้นผมเฉลี่ยประมาณ 50-100 เส้นต่อวันเป็นปกติ ซึ่งในความเป็นจริง ผมร่วงมักจะเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง บางคนร่วงมากจนกระทั่งเกิดเป็นลักษณะของศีรษะล้านตามรูปแบบต่างๆตามมา แต่ถ้าหากในผู้หญิงมีอาการผมร่วงมากๆเกิดขึ้น ก็สามารถทำให้เปลี่ยนจากคนผมหนากลายมาเป็นผมบางได้เช่นกัน การวิเคราะห์สาเหตุต่างๆ บางสาเหตุอาจเกิดจากการหลุดร่วงตามธรรมชาติ ซึ่งก็มักจะเกิดภาวะผมร่วงมากเพียงช่วงระยะเวลานึงเท่านั้น เมื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุนั้นเสีย ผมที่ร่วงไปก็จะสามารถงอกกลับมาใหม่ได้เป็นปกติเช่นเดิม เช่นนั้นก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ผมที่ร่วงหลุดไปไม่สามารถงอกกลับมาใหม่ได้อีก จึงจำแนกได้ตามสาเหตุต่างๆดังนี้

1.ภาวะการเจ็บป่วย

มีภาวะความเจ็บป่วยหลายอย่างที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมหรือภาวะผมร่วงชั่วคราวได้เช่น การผ่าตัด อุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยเรื้อรังบางประเภท ผมจะมีวงจรชีวิตในการเติบโตซึ่งอยู่ในระยะ rest phaseและระยะ shedding phase เมื่อร่างกายตกอยู่ในภาวะความเครียดจากการเจ็บป่วย ผมจะอยู่ในสภาวะช็อคและหยุดชะงักไม่สามารถมีชีวิตตามวงจรของการเติบโตในระยะต่อไปได้จึงทำให้เกิดอาการผมหลุดร่วงตามมา

ควรทำอย่างไร : เมื่อร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ ผมก็จะมีการงอกใหม่หรือเจริญเติบโตอีกครั้งภายในระยะเวลา 3-6เดือน โดยที่ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เจ็บป่วย

2. ภาวะการตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วงได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนบางตัวที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

ควรทำอย่างไร : ภายหลังจากการคลอด 3-4เดือน ผมที่หลุดร่วงไปก็จะกลับคืนสู่สภาวะปกติอีกครั้ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาวะการตั้งครรภ์

3. การได้รับวิตามิน A มากเกินไป

โดยปกติร่างกายคนเราควรได้รับวิตามินA ในปริมาณ 5,000 IU(International Unit)ต่อวัน ทั้งจากอาหารหรืออาหารเสริม หากร่างกายได้รับในปริมาณที่เกินกว่านี้ ก็อาจทำให้มีผลทำให้เกิดผมร่วงตามมาได้

ควรทำอย่างไร : หากเป็นจากสาเหตุนี้ เพียงแค่หยุดรับประทานวิตามิน A อาการผมร่วงก็จะกลับมาเป็นปกติได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การได้รับวิตามิน A มากเกินไป

4. การขาดโปรตีน

หากร่างกายได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนไม่เพียงพอเช่น คนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ คนที่อดอาหารเพื่อลดน้ำหนักก็จะส่งผลทำให้ร่างกายขาดโปรตีนและผมหลุดร่วงได้

ควรทำอย่างไร : ภายหลังการได้รับโปรตีนเสริมหรือทดแทนภายในระยะเวลา 2-3 เดือน ผมก็จะกลับมาเป็นปกติเช่นเดิม แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนได้แก่ ปลา,เนื้อ,ไข่ และพืชตระกูลถั่วต่างๆ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปรตีน

5. ลักษณะผมบางศีรษะล้านในผู้ชาย

ยีนส์และฮอร์โมนเพศชายเป็นสาเหตุที่ทำให้ ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่แนวไรผมร่นขึ้นไปจนมีลักษณะคล้ายรูปตัว M

ควรทำอย่างไร : การรักษาทำได้โดยการใช้ยา Minoxidil(Rogaine)ร่วมกับยา Finasteride(Propecia)เพื่อหยุดยั้งผมร่วงและกระตุ้นการเกิดผมใหม่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผู้ชายผมบาง

6. ลักษณะผมบางศีรษะล้านในผู้หญิง

โดยมากมักจะมีสาเหตุมาจากร่างกายมีฮอร์โมนแอนโดรเจน(ฮอร์โมนเพศชาย)มากเกินไปซึ่งต้องตรวจเช็คประวัติในครอบครัวว่ามีใครมีปัญหาผมร่วงผมบางตั้งแต่อายุน้อยๆหรือไม่ ซึ่งลักษณะจะแตกต่างจากผู้ชายคือจะมีผมบางเป็นหย่อมๆ แต่ในผู้ชายแนวไรผมจะค่อยๆร่นขึ้นไปจนเป็นรูปทรงต่างๆ

ควรทำอย่างไร : การรักษาจะคล้ายกันคือการใช้ยา Minoxidil(Rogaine)และยา Antiandrogen(Fugeral)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผู้หญิงผมบาง

7. ฮอร์โมนเพศหญิง

การเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนเพศหญิงจากการตั้งครรภ์ หรือการรับประทานยาคุมกำเนิดและการหมดประจำเดือน จะมีผลไปกระตุ้นต่อมรับฮอร์โมนแอนโดรเจนที่บริเวณหนังศีรษะให้ทำงานมากขึ้นและมีผลให้เกิดการหลุดร่วงของผมตามมา

ควรทำอย่างไร : การรักษาหากเป็นผลมาจากการรับประทานยาคุมกำเนิด อาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนยาตัวใหม่ ซึ่งสามารถทำให้ผมกลับมาเป็นปกติได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผู้หญิง

8. สภาวะกดดันทางอารมณ์

ความเครียดมีผลต่อการหลุดร่วงของผมมากกว่าการเจ็บป่วยทางร่างกาย

ควรทำอย่างไร : การผ่อนคลายลดความเครียดลง การออกกำลังกาย หรือการใช้ยาคลายเครียด หรือหากิจกรรมต่างๆทำเพื่อการคลายเครียด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผู้หญิง

9. โรคโลหิตจาง

หากตรวจพบว่ามีปัญหาโลหิตจาง ร่างกายอาจขาดธาตุเหล็ก ซึ่งผู้ที่มีปัญหาโลหิตจางจะมีอาการดังต่อไปนี้ อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ผิวหนังซีด มือเย็น เท้าเย็น เป็นต้น

ควรทำอย่างไร : ควรได้รับอาหารเสริมธาตุเหล็กชดเชย เพื่อช่วยแก้ปัญหา อาการผมร่วงเป็นแค่หนึ่งในอาการของโลหิตจาง รวมถึงความเมื่อยล้า ปวดหัว มึนหัว ผิวซีด และมือเท้าเย็น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคโลหิตจาง

10. ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

ต่อมไทรอยด์จะอยู่บริเวณลำคอ ทำหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัตนาการต่างๆของร่างกาย หากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมาน้อยก็สามารถทำให้ผมร่วงได้

ควรทำอย่างไร : การรักษาทำได้โดยการรับฮอร์โมนทดแทน ก็จะทำให้อาการผมร่วงดีขึ้นได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไทรอยด์

11. ภาวะการขาดวิตามิน B

การที่ร่างกายขาดวิตามิน B อาจมีผลมาจาก การควบคุมอาหารและน้ำหนัก

ควรทำอย่างไร : สามารถทดแทนได้จากการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และผลไม้เช่น ปลา เนื้อ อาหารจำพวกแป้ง อาโวคาโด ลูกนัท ผักและผลไม้ต่างๆ ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพและเส้นผม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขาดวิตามินบี

12. โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง

โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจว่าเซลล์รากผมเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย จึงมีเม็ดเลือดขาวมารวมตัวกันเพื่อกัดกินและกำจัดสิ่งแปลกปลอมจึงกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วง

ควรทำอย่างไร : การรักษาอาจใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าไปบริเวณที่มีอาการผมร่วงร่วมกับการให้ยา Minoxidil(Rogaine) สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด หลังการรักษาผู้ป่วยสามารถกลับมาผมร่วงได้อีก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง

13. โรค Lupus หรือโรค SLE

เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีอาการผมร่วงทั่วศรีษะแล้วเกิดเป็นแผลเป็นร่วมด้วย การรักษาให้ผลตอบสนองค่อนข้างน้อย แม้จะมีการปลูกผมทดแทนในบริเวณที่มีอาการผมร่วง โอกาสที่กราฟจะติดมีน้อยมากๆ เพราะสภาวะของโรคจะไปทำลายการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม

ควรทำอย่างไร : ผู้ป่วยอาจต้องใส่วิกหรือเปลี่ยนทรงผมให้สั้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรค Lupus หรือโรค SLE

14. น้ำหนักลดลงมากผิดปกติในระยะเวลาอันรวดเร็ว

อาจจะเกิดจากภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรัง การผ่าตัด การขาดสารอาหารได้หรือวิตามิน ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการผมร่วงผิดปกติได้ การที่น้ำหนักลดลงมากๆ ในเวลาอันรวดเร็วระบบต่างๆในร่างกายอาจจะทำงานผิดปกติไปชั่วคราว

ควรทำอย่างไร : เมื่อระบบต่างๆ ปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 6 เดือน อาการต่างๆก็จะกลับมาเป็นปกติรวมถึงอาการผมร่วงด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำหนักลดลงมากผิดปกติในระยะเวลาอันรวดเร็ว

15. การได้รับยาเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดเป็นยารักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งแต่ก็มีผลในการไปทำลายเซลล์รากผมด้วยเช่นกัน

ควรทำอย่างไร : เมื่อหยุดการรักษาหรือการให้ยาผมก็จะงอกกลับมาเป็นปกติเช่นเดิม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การได้รับยาเคมีบำบัด

16. ภาวะการมีถุงน้ำในรังไข่หลายใบ Polycystic ovary syndrome

เป็นความผิดปกติของงระบบท่อมไร้ท่อ ที่พบบ่อยที่สุดในทางนรีเวช มักพบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เป็นกลุ่มอาการที่มีฮอร์โมนแอนโดรเจนสูงร่วมกับภาวะไม่มีไข่ตกเรื้อรังทำให้เกิดภาวะขนดกมีบุตรยาก ผิวหน้ามัน และมีภาวะผมบางจากแอนโดรเจน

ควรทำอย่างไร : การรักษาทำได้โดยปรึกษาสูตินรีแพทย์ รวมถึงการออกกำลังกายและการใช้ยาอื่นๆ ร่วมด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การมีถุงน้ำในรังไข่หลายใบ Polycystic ovary syndrome

17. การได้รับยาบางชนิด

การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาคลายเครียด ยาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เช่น กลุ่ม Beta-blockers ยารักษารูมาตอยด์ Methotrexate ยารักษาโรค Bipolar(Lithium) ยาแก้ปวดบางชนิด ( Ibuprofen)ยากลุ่มNSAIDs

ควรทำอย่างไร : หากพบอาการผิดปกติจากยาดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การได้รับยาบางชนิด

18. เปลี่ยนทรงผมบ่อยเกินไป

การเปลี่ยนทรงผมบ่อยๆทำให้ต้องเจอกับสารเคมีบ่อยๆความร้อนจากไดร์เป่าผม มีโอกาสทำให้ผมหลุดร่วงได้ การแก้ไข

ควรทำอย่างไร : หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด ดูแลเส้นผมโดยการใช้แชมพูและคอนดิชันเนอร์ที่มีคุณภาพ เพื่อลดอาการผมร่วง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สีผมพาสเทล

19. โรคถอนผมตัวเอง

เป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่ง และเป็นนิสัยหรือพฤติกรรมที่ย้ำคิดย้ำทำ โดยการถอนผมบนหนังศีรษะหรือขนตามตัว เช่น ขนตา ขนจมูก ขนคิ้ว เป็นต้น โดยมากมักถอนขนขณะกำลังทำกิจกรรมบางอย่างที่เพลินๆ จนผมหายเป็นหย่อมๆหรือร่วงจนเกือบหมดหัว

ควรทำอย่างไร : มักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การรักษาอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อให้ยาในการรักษา หรือการทำกิจกรรมบำบัด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคถอนผมตัวเอง

20. วัย

ภาวะผมร่วงผมบาง เนื่องด้วยวัยหรือเมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยมากเมื่ออายุเกินกว่า50 ปีขึ้นไป อาจจะมีอาการผมร่วงหรือผมบางลงได้

ควรทำอย่างไร : หากเป็นตามนี้ก็ยังไม่มีวิธีการใดที่จะยั้บยั้งหรือรักษาได้ อาจทำได้เพียง การปรับเปลี่ยนทรงผมให้ดูเหมาะกับวัย หรือการใช้ผลิตภันฑ์ดูแลเส้นผมที่มีสภาวะความเป็นกรดด่างน้อยที่สุด เพื่อรักษาสภาพผมให้คงอยู่กับเราได้ยาวนานที่สุด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัย

21. Anabolic steroids

เป็นฮอร์โมนเพศชาย ที่ใช้ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ แอนโดรเจนสูง คล้ายกับคนที่เป็นโรค Polycystic ovary disease(PCOS) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะผมร่วงตามมาได้

ควรทำอย่างไร : การแก้ไข อาจปรับลดขนาดยาลงหรือหยุดใช้ยา อาการดังกล่าวก็จะดีขึ้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Anabolic steroids

Credit: health.com