Hair World Plus

“ตีนผม” คือผมส่วนไหน? เป็นคำหยาบคายหรือไม่? มาหาคำตอบกัน

หลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการออกระเบียบใหม่ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 ที่มีสาระสำคัญคือ  นักเรียนต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผม นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาว ไม่เลย “ตีนผม” หลายๆ คนคงสงสัยใช่ไหมว่าคำนี้หมายถึงอะไร? เป็นคำหยาบคายหรือเปล่า? Hairworld Plus+ หาคำตอบมาให้แล้วจ้า

ตีนผม คืออะไร?

ตีนผม หมายถึง ผมที่อยู่ตรงแนวท้ายทอยและหน้าผาก หรือผมด้านหลังที่อยู่บนคอ หรือผมใต้ท้ายทอย

ตีนผม เป็นคำสุภาพหรือไม่?

ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ปรึกษาราชบัณฑิตสถาน (ซึ่งมีหน้าที่หนึ่งก็คือ การดูแลและให้คำแนะนำด้านการใช้ภาษา) แล้ว ระบุว่าเป็นคำสุภาพ

ตีนผม กับระเบียบของกระทรวงศีกษาธิการ

คำว่า “ตีนผม” มีปรากฏในระเบียบของกระทรวงศึกษามาหลายสิบปีแล้ว โดยข้อกำหนดทรงผมของนักเรียนในแบบที่รู้จักโดยทั่วไปนั้น เกิดขึ้นจาก “กฎกระทรวง” ซึ่งประกาศโดยคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 เรื่อง ควบคุมนักเรียนและนักศึกษา ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2515 โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ระบุว่า “นักเรียนชายไว้ผมยาว โดยไว้ผมข้างหน้าและกลางศีรษะยาวเกิน 5 เซนติเมตร และชายผมรอบศีรษะไม่ตัดเกรียนชิดผิวหนัง หรือไว้หนวดเครา”

ในเวลาต่อมา กฎดังกล่าวได้ถูกปรับปรุงด้วยกฎกระทรวงฉบับใหม่ในปี พ.ศ.2518 ที่ระบุว่า “นักเรียนชายให้ตัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผม” ซึ่งหมายถึงนักเรียนชายสามารถตัดผมทรงรองทรงได้ ซึ่งจากกฎกระทรวงฉบับนี้เราจะได้เห็นคำว่า “ตีนผม” เข้ามาเกี่ยวข้องในการกำหนดทรงผมที่ถูกระเบียบของนักเรียน

เรื่องการไว้ผม เรื่องทรงผมนักเรียนนี้ก็มีข่าวมีประเด็นเกิดขึ้นมาแล้วหลายยุคหลายสมัย จนมาถึงปี 2020 ในยุคโควิดระบาด โรงเรียนและสถานศึกษายังปิดภาคเรียนกันอยู่ น้องๆ นักเรียนที่ยังไม่เปิดเทอมก็ยังถือว่ามีอิสระในการไว้ทรงผมช่วงสั้นๆ แต่วันเปิดเทอมมาถึง ก็คงต้องติดตามกันว่าผู้บริหารแต่ละสถานศึกษาจะมีข้อกำหนดเรื่องทรงผมออกมาแบบใด

 

 


Posted

in

by

Tags: